ใช้เวลา 3.5-4 เดือน ตั้งแต่ระยะฟักออกจากไข่จนถึงจับจำหน่ายได้กบขนาด 6-7 ตัวต่อกิโลกรัม
สถานที่ที่เหมาะสมในการเลี้ยงกบ
ควรอยู่ใกล้บ้านและสะดวกต่อในการดูแล
อยู่ใกล้แหล่งน้ำที่มีคุณภาพดี เพียงพอตลอดการเลี้ยง
เป็นพื้นที่สูงหรือที่ดอนเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม
ห่างไกลจากแหล่งชุมชนหรือบริเวณที่มีเสียงอึกทึกรบกวน
อยู่ใกล้แหล่งจำหน่ายอาหารกบ
สะดวกในการจับ
การเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์
เป็นรูปแบบที่นิยมเลี้ยงกันมากที่สุด
สะดวกในการเปลี่ยนถ่ายน้ำ ทำความสะอาดบ่อ ควบคุมโรครวมถึงการจับ บ่อเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีพื้นที่ที่เป็นพื้นบกสำหรับกบอาศัยอย่างน้อย 2/3 ของบ่อ ที่เหลือเป็นพื้นน้ำ
บ่อเลี้ยงกบ
โดยทั่วไปแล้วบ่อเลี้ยงกบจะเป็นบ่อเอนกประสงค์ คือ ใช้ตั้งแต่ผสมพันธุ์ อนุบาลลูกอ๊อด อนุบาลลูกกบ จนถึงเลี้ยงกบขุนหรือกบเนื้อบ่อ เลี้ยงกบ มักเป็นบ่อซีเมนต์ มีหลายรูปแบบ เช่น ปูกระเบื้อง ทาสีเหลืองขนาดบ่อมีหลายขนาด เช่น 3x4 , 3.2x4 , 4x4 , 4x5 , 4x6 เมตร สูง 1.2 เมตร ขึ้นกับความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่
น้ำสำหรับใช้เลี้ยงกบ
ควรตรวจสอบคุณภาพน้ำ เช่น ความเป็นกรดด่างของน้ำ (พีเอช) ความกระด้าง ค่าอัลคาไลนิตี้
ปริมาณแอมโมเนีย แร่ธาตุในน้ำ ฯลฯ ว่าเหมาะสมหรือไม่ หากน้ำที่ใช้เป็นกรด จะต้องใส่ปูนขาว
เพื่อปรับสภาพน้ำและตรวจวัดความเป็นกรดด่างของน้ำอีกครั้งหนึ่ง และมีการพักน้ำดังกล่าวไว้ก่อนนำมาเลี้ยงกบ
น้ำจากแหล่งน้ำสาธารณะซึ่งคุณภาพของน้ำมักจะไม่สม่ำเสมอหรือปนเปื้อนสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร
ดังนั้นควรพิจารณาในการนำมาใช้ ถ้าจะนำมาใช้ควรมีบ่อพักเก็บกักน้ำไว้ก่อน หากน้ำที่ใช้เป็นน้ำบาดาล
ควรผ่านการกรองและพักน้ำไว้ก่อนนำมาใช้
ลักษณะกบตัวผู้และตัวเมียเมื่อดูจากภายนอก
ตัวผู้ มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย มีถุงเสียงใต้คาง สีสันบนตัวจะเหลืองกว่าตัวเมีย
ตัวเมีย มีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ไม่มีถุงเสียงใต้คาง ตัวเมียที่ไข่แก่ท้องจะโป่งนูนเห็นได้ชัด
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
ควรเป็นกบที่มีตัวเหลือง ท้องขาว ตัวใหญ่ โตเร็วคัดจากกบขุนหรือซื้อจากฟาร์มที่น่าเชื่อถือ
ลักษณะกบพ่อแม่พันธุ์ที่พร้อมผสมพันธุ์
แม่พันธุ์ ควรมีอายุ 8 เดือน ขึ้นไป และไข่จะสมบูรณ์เต็มที่ เมื่ออายุ 1 ปี โดยมีน้ำหนักตัว 330 กรัม ขึ้นไป
หรือขนาด 3 ตัวต่อกิโลกรัม ไข่ต้องแก่จัด มีสีดำ ข้างลำตัวทั้งสองด้านเมื่อเอามือลูบจะสาก ท้องค่อนข้างใหพ่อพันธุ์ จะมีขนาดเล็กกว่าแม่พันธุ์ ควรมีอายุ 8 เดือน ขึ้นไป โดยมีน้ำหนักตัว 200-250 กรัม หรือ 4-5 ตัวต่อกิโลกรัม
จะต้องคึก ดูได้จากเมื่อสอดนิ้วมือเข้าระหว่างขาหน้าทั้งสอง พ่อพันธุ์จะรัดแน่น
การเลี้ยงและการจัดการกบพ่อแม่พันธุ์
บ่อที่ใช้เลี้ยงเป็นบ่อสี่เหลี่ยมขนาด 1x1 , 2x2 , 2x3 เมตร สูง 1.2 เมตร หรือ บ่อซีเมนต์กลม
เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 หรือ 1.5 เมตร มีวัสดุปิดด้านบน เช่น กระเบื้องมุงหลังคา เพื่อป้องกันไม่ให้กบตกใจ
เครียดหรือโดนแดด ในขณะเดียวกันก็สามารถเปิดให้ได้รับแสงแดดได้ด้วย
ต้องเลี้ยงแยกเพศ แบ่งเป็นบ่อแม่พันธุ์และบ่อพ่อพันธุ์ เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จึงนำมารวมกันเพื่อให้จับคู่
ไม่ควรเลี้ยงกบหนาแน่นเกินไป อัตราการปล่อยที่เหมาะสม คือ 20 ตัวต่อตารางเมตร
มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำสม่ำเสมอ และควบคุมไม่ให้น้ำเสีย
ให้อาหารวันละ 2 ครั้ง เมื่อใกล้ฤดูผสมพันธุ์ให้ลดปริมาณอาหารลง
มีการให้วิตามินและแร่ธาตุผสมอาหารเพื่อบำรุงระบบสืบพันธุ์
สภาวะแวดล้อมกับการผสมพันธุ์กบ
ในธรรมฮาติกบจะผสมพันธุ์และวางไข่ในฤดูฝน กบจะวางไข่ในบริเวณที่ มีน้ำตื้น มีพันธุ์ไม้น้ำขึ้นอยู่อย่างหนา
แน่นพอสมควร ปัจจัยที่มีผลเกี่ยวข้องต่อการ ผสมพันธุ์ของกบได้แก่
1. อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการผสมพันธุ์และการวางไข่ของ กบต้องไม่ต่ำกว่า 25 องศาเชลเชียส
และไม่ควรมีอุณหภูมิที่สูงเกินไป โดยปกติ อุณหภูมิในประเทศไทยจะมีความเหมาะสมดีอยู่แล้ว
2. แสงสว่าง เมื่อกบไข่แล้วหากแสงสว่างไม่เพียงพอ แม่กบจะไม่ ยอมผละจากไข่จะยังคงเฝ้าและดูแลไข่ของตน
และในกรณีของการฟักไข่ ไข่ที่อยู่ในที่ร่มแสงแดดส่องไม่ถึงก็จะไม่ค่อยฟักออกเป็นตัวเช่นกัน
3. ความชื้น โดยสัญชาตญาณกบจะไม่วางไข่ในที่แล้ง กบจะไข่ ภายหลังฝนตาหรือระหว่างที่ฝนตก
ดังนั้นในการกระตุ้นให้กบผสมพันธุ์และ วางไข่โดยวิธีการฉีดโปรยให้เหมือนกับมีฝนตก
จะช่วยให้กบผสมพันธุ์และ วางไข่ดีขั้น
4. หลังจากผสมพันธุ์แล้ว 2-3 วัน ไข่กบที่จมอยู่ก้นบ่อก็จะค่อยๆลอยขึ้นพร้อม ๆ กัน มีวุ้นหุ้มโดยรอบ
เพื่อช่วยป้องกันความร้อน และช่วยรักษาอุณหภูมิให้เหมาะสมกับการฟักเป็นตัว
การเพาะพันธุ์
เติมน้ำในบ่อเพาะพันธุ์ ให้ได้ระดับ 5-7 เซนติเมตรหรือท่วมหลังกบ
ใส่พืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักตบ ต้นหญ้า ใบตำลึง เพื่อเลียนแบบธรรมชาติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น