วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2561

เรื่องกล้วยๆ สรรพคุณและประโยชน์ไม่ใช่กล้วยๆ แชร์เลย


กล้วย
กล้วย (Banana) ที่นิยมรับประทานกันในบ้านเรานั้นมีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ เช่น กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ กล้วยหักมุก เป็นต้น แต่สำหรับต่างชาติแล้วกล้วยที่นิยมมากที่สุดคงหนีไม่พ้นกล้วยหอม เนื่องจากกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ ถ้าพูดถึงเรื่องประโยชน์แล้วมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งระบุชัดเจนว่าการรับประทานกล้วยแค่ 2 ลูกจะช่วยเพิ่มพลังงานในร่างกายได้เทียบเท่ากับการออกกำลังกายถึง 90 นาทีเลยทีเดียว ! เพราะกล้วยอุดมไปด้วยน้ำตาลจากธรรมชาติรวมถึง 3 ชนิดเลย นั่นก็คือ ซูโครส กลูโคส และฟรุกโทส ซึ่งช่วยเพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกายนั่นเอง

นอกจากนี้แล้วในกล้วยยังอุดมไปด้วยเส้นใยและกากอาหาร และยังมีวิตามินและแร่ธาตุนานาชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ธาตุเหล็ก ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุโพแทสเซียม ธาตุแมกนีเซียม คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามินเอ วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 และวิตามินซี เป็นต้น

คุณรู้หรือไม่ ผลไม้อย่างแอปเปิลที่ขึ้นชื่อเรื่องความมีประโยชน์ก็ยังแพ้กล้วย เพราะว่าในกล้วยนั้นมีวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ มากกว่าแอปเปิลถึง 2 เท่า โดยมีคาร์โบไฮเดรตมากกว่า 2 เท่า มีฟอสฟอรัสมากกว่า 3 เท่า มีโปรตีนมากกว่า 4 เท่า วิตามินเอและธาตุเหล็กมากกว่า 5 เท่าด้วยกัน ! โดยการกินกล้วยจะให้ผลดีที่สุดคือกินตอนเช้า เพราะจะช่วยให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้ดี และการกินกล้วยทุกวัน วันละ 2 ผลถือเป็นสิ่งที่ดีและวิเศษมาก ๆ จะกล้วยหอม กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้าก็ได้ทั้งนั้น

ประโยชน์ของการกินกล้วย
ช่วยลดกลิ่นปากได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้ควรรับประทานหลังตื่นนอนตอนเช้าทันทีแล้วค่อยแปรงฟัน และถ้าเป็นกล้วยน้ำว้าจะยิ่งช่วยลดกลิ่นปากได้ดีขึ้น
กล้วยช่วยควบคุมอุณหภูมิในร่างกายให้เป็นปกติ
กล้วยอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ที่สำคัญและจำเป็นต่อร่างกาย เช่น ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามินเอ วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 และวิตามินซี
ช่วยเพิ่มพลังให้แก่สมองของคุณ เพราะมีสารที่ช่วยทำให้มีเกิดสมาธิและมีการตื่นตัวตลอดเวลา
กล้วยก็มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระเหมือนกันนะ ที่ช่วยในการชะลอความแก่ตัวของร่างกายนั่นเอง
กล้วยมีส่วนช่วยในการลดความอ้วนได้ เพราะช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยให้ลดอาการอยากกินของจุกจิกลงได้พอสมควร
สำหรับผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับ กล้วยคือคำตอบสำหรับคุณ
อาการหงุดหงิดยามเช้า กล้วยก็ช่วยคุณได้เหมือนกัน
ช่วยลดอาการหงุดหงิดของผู้หญิงในช่วงประจำเดือนมา
ช่วยลดอาการเมาค้างได้ดีระดับหนึ่ง เพราะจะช่วยชดเชยน้ำตาลที่ร่างกายขาดไปในขณะดื่มแอลกอฮอล์
เป็นตัวช่วยสำหรับผู้ที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่ เพราะในกล้วยมีวิตามินเอ ซี บี 6 บี 12 โพรแทสเซียม และแมกนีเซียมที่ช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้นจากการเลิกนิโคติน
ช่วยรักษาอาการท้องผูก เพราะกล้วยมีเส้นใยและกากอาหารซึ่งจะช่วยให้ขับถ่ายได้อย่างปกติ
ช่วยบรรเทาอาการของริดสีดวงทวารหรือในขณะขับถ่ายจะมีเลือดออกมา
ช่วยลดอาการเสียดท้อง ลดกรดในกระเพาะ การกินกล้วยจะทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลายจากอาการนี้ได้
ช่วยรักษาโรคโลหิตจางได้ เพราะในกล้วยมีธาตุเหล็กสูง ซึ่งจะช่วยในการผลิตฮีโมโกลบินในเลือด เพื่อรักษาภาวะโลหิตจางหรือผู้ที่อยู่ในสภาวะขาดกำลัง
ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูงหรือเส้นเลือดฝอยแตกได้
ช่วยลดโอกาสเสี่ยงของการเกิดเส้นโลหิตแตกได้
สำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะหรือกระเพาะอักเสบ การรับประทานกล้วยบ่อย ๆ ถือเป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะกล้วยมีสภาพเป็นกลาง มีความนิ่มและเส้นใยสูง
ช่วยรักษาแผลในลำไส้เรื้อรัง เพราะกล้วยมีสภาพเป็นกลาง ทำให้ไม่เกิดการระคายเคืองในผนังลำไส้และกระเพาะอาหารด้วย
ช่วยรักษาโรคซึมเศร้า ภาวะความเครียด เพราะกล้วยมีโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Tryptophan ซึ่งช่วยในการผลิตสาร Serotonin หรือฮอร์โมนแห่งความสุข จึงมีส่วนช่วยในการผ่อนคลายอารมณ์ได้ดียิ่งขึ้น
ช่วยลดอัตราการเกิดตะคริวบริเวณมือ เท้า และน่องได้
ช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้องของมารดาลงได้
กล้วยมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการนิ่วในไตได้ในระดับหนึ่ง


ประโยชน์ของกล้วย
กล้วยก็สามารถนำมาทำเป็นมาส์กหน้าได้เหมือนกันนะ โดยจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ผิว ช่วยลดความหยาบกร้านของผิว วิธีง่าย ๆ เพียงแค่ใช้กล้วยสุกหนึ่งผลมาบดให้ละเอียด แล้วเติมน้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ จากนั้นคลุกให้เข้ากัน แล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก
เปลือกกล้วยสามารถแก้ผื่นคันที่เกิดจากยุงกัดได้ ด้วยการลองใช้ด้านในของเปลือกกล้วยทาบริเวณที่ถูกยุงกัด อาการคันจะลดลงไปได้ระดับหนึ่ง
เปลือกด้านในของกล้วยช่วยในการรักษาโรคหูดบนผิวหนังได้ โดยใช้เปลือกกล้วยวางบนลงบริเวณหูดแล้วใช้เทปกาวแปะไว้
เปลือกกล้วยด้านในช่วยฆ่าเชื้อที่เกิดจากบาดแผลได้เหมือนกัน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อแปะที่บาดแผลแล้วก็ควรจะเปลี่ยนเปลือกใหม่ทุก ๆ 2 ชั่วโมงด้วย
ยางกล้วยสามารถนำมาใช้ในการห้ามเลือดได้
ก้านใบตอง ช่วยลดอาการบวมของฝี แต่ก่อนใช้ต้องตำให้แหลกเสียก่อน
ใบอ่อนของกล้วย หากนำไปอังไฟให้นิ่ม ก็ใช้ประคบแก้อาหารเคล็ดขัดยอกได้
หัวปลีนำมารับประทานเพื่อช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รวมทั้งบำรุงและขับน้ำนมสำหรับมารดาหลังคลอดบุตร
ผลดิบนำมาบดให้ละเอียดทั้งลูกผสมกับน้ำสะอาด รับประทานเพื่อแก้อาการท้องเสีย
ใบตอง อีกส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์กันอย่างมาก เช่น ทำกระทง ห่อขนม ห่ออาหาร ทำบายศรี บวงสรวงต่าง ๆ
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วย ต่อ 100 กรัม
ประโยชน์ของกล้วยพลังงาน 89 กิโลแคลอรี
คาร์โบไฮเดรต 22.84 กรัม
น้ำตาล 12.23 กรัม
เส้นใย 2.6 กรัม
ไขมัน 0.33 กรัม
โปรตีน 1.09 กรัม
วิตามินบี 1 0.031 มิลลิกรัม 3%
วิตามินบี 2 0.073 มิลลิกรัม 6%
วิตามินบี 3 0.665 มิลลิกรัม 4%
วิตามินบี 5 0.334 มิลลิกรัม 7%
วิตามินบี 6 0.4 มิลลิกรัม 31%
วิตามินบี 9 20 ไมโครกรัม 5%
โคลีน 9.8 มิลลิกรัม 2%
วิตามินซี 8.7 มิลลิกรัม 10%
กล้วยธาตุเหล็ก 0.26 มิลลิกรัม 2%
ธาตุแมกนีเซียม 27 มิลลิกรัม 8%
ธาตุแมงกานีส 0.27 มิลลิกรัม 13%
ธาตุฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม 3%
โพแทสเซียม 358 มิลลิกรัม 8%
ธาตุโซเดียม 1 มิลลิกรัม 0%
ธาตุสังกะสี 0.15 มิลลิกรัม 2%
ธาตุฟลูออไรด์ 2.2 ไมโครกรัม
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)



แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (EN), USDA Nutrient database

วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2561

เคล็บลับ++ เลี้ยงกุ้งฝอยในบ่อซีเมนต์ลงทุนน้อย แต่รายได้ดี แชร์เลย


การเลี้ยงกุ้งฝอย
การเลี้ยงกุ้งฝอยในปัจจุบันมี 3 ลักษณะ คือ

1. การเลี้ยงในบ่อซีเมนต์
การเลี้ยงกุ้งในบ่อซีเมนต์ เหมาะสำหรับผู้ที่มีพื้นที่น้อย ด้วยการสร้างบ่อก่ออิฐในขนาดต่างๆตามความเหมาะสมของพื้นที่ เช่น บ่อสูง 0.7 เมตร กว้าง 4 เมตร ยาว 4 เมตร หรือ บ่อสูง 1 เมตร กว้าง 2 เมตร ยาว 5-10 เมตร เป็นต้น

อัตราการปล่อยแม่กุ้งฝอยที่มีไข่ที่ 50 ตัว/น้ำ 200 ลิตร เมื่อแม่กุ้งเขี่ยไข่ออกแล้วให้รีบจับแม่กุ้งออกทันที เพราะแม่กุ้งจะกินตัวอ่อนของตัวเอง หรืออาจใช้วิธีปล่อยพ่อ-แม่พันธุ์ลงเลี้ยงร่วมกัน อัตราการปล่อยที่ เพศผู้ 1 ส่วน เพศเมีย 2 ส่วน นอกจาก การใช้บ่อซีเมนต์แบบก่ออิฐแล้ว ปัจจุบัน ยังนิยมใช้บ่อซีเมนต์ทรงกลมสำเร็จรูปสำหรับใช้เลี้ยง ซึ่งวิธีนี้จะประหยัดต้นทุนมาก และง่ายในการรื้อถอนหรือเคลื่อนย้าย การจัดการในบ่อซีเมนต์ หากเป็นบ่อก่อใหม่หรือซื้อมาใหม่ ให้ใส่น้ำขังไว้ประมาณ 1-2 อาทิตย์ แล้วถ่ายออกเพื่อลดความเป็นด่างจากปูนหลังการปล่อยกุ้ง ควรนำพืชน้ำ เช่น จอก หรือ ผักตบชวา ใส่ในบ่อพอประมาณ เพื่อเป็นที่หลบแดดให้แก่กุ้ง และควรมีการถ่ายเทน้ำเป็นระยะอาหารของกุ้งวัยอ่อนอายุ 1-20 วัน หากเป็นอาหารที่ให้จะใช้ไข่แดงต้มบดผ่านผ้าขาว และไรแดง ร่วมกับการสร้างอาหารให้เกิดเองตามธรรมชาติ ด้วยการหว่านปุ๋ยคอก เช่น มูลโค หรือ มูลไก่ อัตรา 1 กำมือ/น้ำ 200 ลิตร ซึ่งจะทำให้เกิดแพลงก์ตอนพืชขึ้นมา ส่วนอาหารสำหรับกุ้งช่วงวัยรุ่น-ตัวเต็มวัยจะเริ่มให้ตั้งแต่หลังอายุ 20 วัน โดยให้พวกเนื้อปลาสับ และรำละเอียด ร่วมด้วยกับอาหารเม็ดสำเร็จรูป



สำหรับการเลี้ยงกุ้งฝอยในบ่อซีเมนต์นั้น สามารถทำได้ง่ายๆ และอุปกรณ์นั้นก็สามารถหาได้ในท้องถิ่นเราอยู่แล้วครับ วิธีการนั้นก็ง่ายๆ ดังนี้
เตรียมวงบ่อปูนซีเมนต์ ตามจำนวนที่เราต้องการ (ถ้าเป็นวงบ่อปูนที่ทำขึ้นใหม่ควรโรยปูนขาวในบ่อก่อนที่จะใส่น้ำและแช่น้ำไว้ซัก 10- 15 วัน เพื่อลดความเป็นกรดเป็นด่างของปูนครับ)เตรียมเพื่อดินไปรองที่ก้นบ่อประมาณ 1-10 เซนติเมตร เตรียมพืชน้ำ ตามธรรมชาติที่หาได้อย่างเช่น ผักตบชวา หญ้าขน สาหร่ายเป็นต้น เพื่อนำมาปลูกในบ่อ
สายยางสำหรับฉีดน้ำในบ่อเพื่อกระตุ้นให้กุ้งวางไข่ตาข่ายสำหรับปิกปากบ่อ เพื่อป้องกันสัตว์อื่นๆ ลงไปในบ่อกุ้งของเราหรือพวกยุงลงไปวางไข่ เป็นต้นครับ
เมื่อเตรียมอุปกรณ์ครบทุกอย่างแล้ว ก็จัดพื้นที่ส่วนที่จะเลี้ยงกุ้งตามความเหมาะสมของท่าน และความสะดวกของพื้นที่บ้าน วางบ่อวงซีเมนต์ (เพื่อป้องกันน้ำซึมแห้งให้เทพื้นรองก้นบ่อ และก่อนใส่ดินอาจจะปูด้วยพลาสติกก้ได้ )นำดินใส่ลงไปในบ่อวงซีเมนต์ ที่ก้นบ่อประมาณ 1-10 เซนติเมตร และเติมน้ำเข้าไปให้เกือบเต็มบ่อ
นำพืชน้ำที่เตรียมไว้ลงไปปลูก โดยพืชน้พนี้จะเป็นที่อาศัยของกุ้งฝอย และช่วยในการปรับสภาพน้ำในบ่อด้วย หลังจากนั้นให้นำกุ้งฝอยปล่อยลงในบ่อที่เตียมไว้ (สามารถให้แม่พันธุ์กุ้งได้ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ) ในช่วง 7 วันแรกของการปล่อยกุ้งฝอยลงในบ่อวงซีเมนต์นั้นห้ามให้อาหารกุ้งเด็ดขาดครับ เพราะเราต้องปล่อยให้กุ้งฝอยปรับสภาพเข้ากับบ่อให้ได้เสียก่อน หลังจากนั้นจึงให้อาหารได้ตามปกติ ในส่วนของอาหารนั้นก็คล้ายๆ กับที่เราเลี้ยงกุ้งฝอยในบ่อพลาสติก โดยนำเอาไข่แดงที่ต้มสุกแล้วเน้นว่าเฉพาะไข่แดงครับ จำนวน 2 ฟอง ผสมกับรำอ่อน 3 ขีด คลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นให้ทำการปั้นเป็นก้อนๆ เท่ากำปั้นหย่อนลงไปในบ่อ (ในการให้อาหารนั้นให้กะปริมานของกุ้งในบ่อว่าควรให้มากน้อยแค่ไหน และควรหมั่นตรวจสอบว่าอาหารหมดหรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเน่าเสีย)

2. การเลี้ยงกุ้งฝอยในกระชัง
การเลี้ยงกุ้งฝอยในกระชัง มักใช้เลี้ยงในบ่อดินที่เลี้ยงปลาต่างๆ เพราะจะเป็นรายได้เสริมจากการเลี้ยงปลา โดยใช้กระชังแบบอยู่กับที่ที่มีผ้าเขียวกั้น อัตราการปล่อยเพศผู้ต่อเพศเมียที่ 1:2 การให้อาหาร จะให้แบบเดียวกับการเลี้ยงกุ้งในบ่อซีเมนต์ ดังที่กล่าวข้างต้น



การเลี้ยงกุ้งฝอยในกระชังผ้ามุ้ง
จากปัจจัยที่เห็นว่าปัจจุบันปริมาณกุ้งฝอยในแหล่งน้ำธรรมชาติลดน้อยลง และมีราคาแพง ทำให้ ดร.บัญชา ทองมี อาจารย์ประจำคณะประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ ทำการศึกษาวิจัย การเลี้ยงกุ้งฝอยในเชิงการค้า ปรากฏว่าประสบผลสำเร็จได้เป็นอย่างดี สามารถที่จะเผยแพร่แก่เกษตรกรนำไปเพาะเลี้ยงเป็นอาชีพได้ดร.บัญชา บอกว่า ปัจจุบันกุ้งฝอยเริ่มมีปริมาณลดน้อยลง และราคาแพงขึ้น มหาวิทยาลัยแม่โจ้จึงได้ศึกษาวิจัยการเลี้ยงกุ้งฝอยในเชิงการค้า เนื่องจากมองว่ากุ้งฝอยนั้น ยังเป็นที่นิยมบริโภคของคนไทย เพราะสามารถนำมาปรุงเป็นอาหารหลายอย่าง และจากนี้ยังสามารถนำไปเป็นอาหารเลี้ยงอนุบาลลูกปลาเศรษฐกิจได้อีกด้วย จึงว่าน่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่เกษตรกรสามารถประกอบอาชีพได้ ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานพัฒนาวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จนประสบผลสำเร็จ สามารถเผยแพร่แก่เกษตรกรนำไปเพาะเลี้ยงเป็นอาชีพได้
- ดร.บัญชาบอกอีกว่า การเลี้ยงได้ 2 วิธี คือ การนำพ่อแม่พันธุ์กุ้ง 50 ตัว ปล่อยลงในกระชังภายในบ่อเลี้ยงเพื่อให้พ่อแม่พันธุ์กุ้งฝอยผสม พันธุ์กันเอง วิธีนี้ใช้เวลา 2-3 เดือน
แต่จะมีอัตราการรอดชีวิตประมาณ 20-30% อีกวิธีหนึ่งคือ การคัดแม่พันธุ์ที่มีไข่แล้วมาขยายพันธุ์ มีอัตราการรอดชีวิต 80% จึงขอแนะนำเกษตรกรใช้วิธีนี้ เนื่องจากจะได้กุ้งฝอยที่มีขนาดเดียวกัน การปฏิบัติดูแลรักษาง่าย สามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดินและบ่อซีเมนต์ การลงทุนต่ำ สามารถเพาะเลี้ยงได้ตลอดทั้งปี
- สำหรับการเลี้ยงนั้นเริ่มจากการรวบรวมกุ้งเพศเมียจากแหล่งน้ำธรรมชาติ จำนวน 80-100 ตัว แม่กุ้ง 1 ตัวมีไข่ได้ 200-250 ตัว นำมาพักไว้ในกระชังผ้าขนาด 1x1x1 เมตร อย่างน้อย 1 คืน คัดเลือกเฉพาะกุ้งเพศเมียที่มีไข่แก่ ให้อาหารสำเร็จรูปที่มีโปรตีน 33% ให้อาหารประมาณ 5% ของน้ำหนักตัว แบ่งให้ 2 ครั้งเช้าและเย็น ราว 3-4 วัน ไข่จะฟักออกมาเป็นตัว
จากนั้นแยกแม่กุ้งออกจากกระชัง แล้วคัดลูกกุ้งที่มีขนาดเดียวกัน เพื่อสะดวกในการจัดการเพาะเลี้ยง นำลูกกุ้งที่ได้ไปอนุบาลในกระชังผ้าโอล่อนแก้ว ลูกกุ้งจะได้ 5 หมื่นตัว อาทิตย์แรกให้ไข่แดงต้มสุกเป็นอาหาร อาทิตย์ที่ 2-4 ใช้ไรน้ำจืดขนาดเล็กเป็นอาหาร จากนั้นจึงให้อาหารสำเร็จรูปชนิดผง เป็นอาหารที่มีโปรตีน 40%
ให้อาหารในปริมาณ 10% ของน้ำหนักตัว ใช้เวลาอนุบาลเป็นเวลา 1 เดือน จึงนำไปเลี้ยงในกระชังในบ่อดินหรือบ่อซีเมนต์ได้ 3-5 หมื่นตัว เลี้ยงอีก 2 เดือนสามารถขายได้

3. การเลี้ยงกุ้งฝอยในบ่อดิน
การเลี้ยงกุ้งฝอยในบ่อดิน มักเลี้ยงในบ่อขนาดเล็ก เนื่องจากบ่อขนาดใหญ่ เกษตรกรมักใช้เลี้ยงปลาจะมีรายได้มากกว่า ขนาดบ่อทั่วไปมักไม่เกิน 400 ตารางเมตร (20×20 เมตร) บ่อลึก 0.8-1 เมตรก่อนปล่อยกุ้งจำเป็นต้องสูบน้ำ และจับปลาทุกชนิดออกให้หมดก่อน โดยเฉพาะปลากินเนื้อต่างๆ เช่น ปลาช่อน ปลาดุก ปลาหมอ เป็นต้น หลังจากนั้น ปล่อยน้ำเข้าบ่อให้สูงประมาณ 30 ซม. พร้อมหว่านด้วยปุ๋ยคอก อัตรา 30-50 กิโลกรัม/บ่อ ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 1 อาทิตย์ จนน้ำเริ่มเขียว จากนั้น ค่อยปล่อยน้ำเข้าเต็มบ่ออัตราการปล่อยกุ้งที่ 2-4 กิโลกรัม/บ่อ หลังจากการปล่อย ให้หาพืชน้ำใส่บริเวณริมตลิ่งเล็กน้อยเพื่อสำหรับให้กุ้งหลบอาศัยส่วนการให้อาหาร จะให้แบบเดียวกับการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์



การเลี้ยงกุ้งฝอยในบ่อดิน
"กุ้งฝอย แต่เดิมนั้นพบได้ทั่วไปในแหล่งน้ำต่าง ๆ แต่เนื่องจากสภาพ แวดล้อมที่เสื่อมโทรม มีการสะสมของสารพิษ เกิดการตื้นเขินและถูกบุกรุกทำลาย เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างอื่น จึงทำให้แหล่งที่อยู่อาศัยของกุ้งฝอยในธรรมชาติลดน้อยลง แต่ขณะที่ความต้องการกุ้งฝอยเพื่อการบริโภคมีมาก จึงทำให้ ราคากุ้งฝอยที่จำหน่ายในท้องตลาดสูงขึ้นมาก อย่างที่ขายกันในภาคอีสาน นั้น แต่ก่อนนี้เพียงกิโลกรัมละ 35-50 บาท แต่ตอนนี้ขึ้นมาถึง 160-200 บาท"สำหรับการเลี้ยงกุ้งฝอย ควรเป็นบ่อขนาด 1 งาน หรือประมาณ 0.5 ไร่ ถ้าขนาดใหญ่เกินไปจะทำให้ดูแลได้ไม่ทั่วถึง ความลึกของบ่อประมาณ 1.5 เมตร เติมน้ำสูง ประมาณ 1 เมตร แต่สิ่งสำคัญประการหนึ่งคือ การป้องกันศัตรู ดังนั้น บริเวณบ่อต้องให้โล่งเตียน เพื่อไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของ กบ เขียด งูที่จะมาลงกินกุ้งฝอยในบ่อเลี้ยง นอกจากนี้ ในบ่อเลี้ยงต้องมีการกำจัดปลาที่เป็นศัตรูอย่าง ปลาช่อน ปลาดุกด้วย " พวกนี้จัดเป็นศัตรูของกุ้งฝอยมาก สำคัญ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดำเนินการหาทางป้องกันไว้ "โดยที่ปฏิบัติอยู่เราจะล้อมรอบบ่อเลี้ยงด้วยไนลอนเขียวตาถี่ ๆ ด้วย และในการป้องกันกำจัดศัตรูที่อยู่ในน้ำเราจะใช้พวกกากชา หางไหล ใส่ทิ้งไว้ 3 -5 วัน"ในการเตรียมบ่อเลี้ยง
- ให้เริ่มจากหว่านปุ๋ยคอกจำนวน 150-200 กิโลกรัม หว่านรำละเอียด 30 กิโลกรัม แล้วใส่น้ำสูง 30-50 เซนติเมตร เมื่อเกิดไรแดงและโรติเฟอร์จำนวนมาก สีน้ำเริ่มเขียวให้นำพ่อแม่พันธุ์กุ้งฝอยใส่ลงไปจำนวน 4-5 กิโลกรัมสำหรับพ่อแม่พันธุ์กุ้งฝอยที่นำมาใส่บ่อเลี้ยง ควรคัดที่มีขนาดใหญ่ และขนาดใกล้เคียงกัน โดยสามารถคัดได้ทุกฤดูกาล ยิ่งในช่วงฤดูร้อนยิ่งดีมาก กุ้งฝอยจะขยายพันธุ์ได้เร็วในช่วงฤดูฝน"กุ้งฝอยจะผสมพันธุ์ภายใน โดยเพศเมียจะมีไข่ขนาดเล็ก ๆ อยู่ในหัวและเมื่อได้รับการผสมแล้ว จะเคลื่อนที่มาอยู่บริเวณท้อง จนกว่าไข่จะแก่ เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ถ้าไข่สีเขียวเข้มจนเป็นสีเทาแสดงว่าไข่แก่ เมื่อน้ำมีสภาพดี โดยเฉพาะถ้าเป็นน้ำขุ่นจะเจริญเติบโตดีมากกว่าน้ำใส ซึ่งในกรณีของน้ำที่ใช้เลี้ยงนี้ กำลังอยู่ระหว่างช่วงการศึกษาเกี่ยวกับความขุ่นของน้ำที่มีผลต่อการเจริญ เติบโตของกุ้งฝอยว่า ควรเป็นเท่าใด และกุ้งฝอยจะชอบน้ำมีสีเขียวที่มีแพลงก์ตอนพืชและไรแดง จะชอบมากและวางไข่ ลูกกุ้งจะลอยน้ำในแนวดิ่ง"อาหารที่ใช้เลี้ยงกุ้งฝอย ใช้รำละเอียดและปลาป่น อัตรา 3 ต่อ 1 โดยจากการศึกษาในตู้เพาะเลี้ยงพบว่า สามารถให้ผลผลิตกุ้งฝอยได้ดี และมีปริมาณผลผลิตมาก รวมทั้งมีการใส่ปุ๋ยคอกเสริมบ้างเพื่อสร้างน้ำเขียวสำหรับระยะเวลาในการเพาะเลี้ยงกุ้งฝอยนั้น จากการศึกษาพบว่า การเลี้ยงกุ้งฝอย หากสามารถปล่อยพ่อแม่พันธุ์ได้ทุกเดือนที่พบว่ากุ้งฝอยมีไข่แก่ บริเวณช่องท้องและเมื่อกุ้งวางไข่แล้ว จะผสมพันธุ์ได้ต่อไป เมื่อลูกกุ้งเล็ก ๆ เลี้ยง 3-4 เดือน จะได้ลูกกุ้งโตเต็มวัยสามารถช้อนขายได้ หรือจะช้อนขายเมื่อเห็นว่ากุ้งในบ่อเลี้ยงมีจำนวนมาก เพราะหากกุ้งมีจำนวนมากเกินไปจะทำให้กุ้งไม่โตและกินกันเองระหว่างการลอก คราบนอกจากนี้ ระหว่างการเลี้ยงอาจมีการเพิ่มน้ำหากพบว่า น้ำในบ่อมีปริมาณลดลงไป หากน้ำมีจำนวนน้อยหรือตื้นเขินกุ้งจะโตช้าและอ่อนแอ

การจับกุ้งฝอย
กุ้งฝอยจะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 3-4 เดือน ก็สามารถจับจำหน่ายได้ ซึ่งจะมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 3-4 ซม.ทั้งนี้ มีการศึกษาทดลองเลี้ยงกุ้งฝอยในบ่อดิน ขนาด 400 ตารางเมตร เป็นระยะเวลา 3 เดือน ด้วยการให้อาหารปลาป่น และรำละเอียด อัตรา 1:5 สามารถจับกุ้งฝอยได้น้ำหนักกว่า 9.4 กิโลกรัม/บ่อ

การจับกุ้งฝอยตามธรรมชาติ
กุ้งฝอยตามท้องตลาดมีทั้งกุ้งฝอยเลี้ยง และกุ้งฝอยจากธรรมชาติ ซึ่งแยกกันได้ยาก เพราะมีลักษณะสีของลำตัวใกล้เคียงกัน

สำหรับการจับกุ้งฝอยตามธรรมชาติมีวิธีที่นิยมใช้ 2 แบบ คือ
1. การใช้ไซกุ้ง
ไซกุ้ง เป็นอุปกรณ์ดักจับกุ้งโดยเฉพาะ ซึ่งอาจทำจากการสานไม้ไผ่หรือขวดพลาสติก โดยมีลิ้นเป็นช่องให้กุ้งเข้าไปด้านในได้ แต่ลิ้นนี้จะดักกุ้งไม่ให้ออกมาได้ ส่วนด้านในจะใส่อาหารปลาสำเร็จรูปเป็นเหยื่อล่อ ซึ่งวิธีนี้ จะดักได้เฉพาะกุ้งอย่างเดียว และเป็นกุ้งที่มีขนาดตัวเต็มวัยแล้ว ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการคัดแยกกุ้ง

2. การใช้ผ้าซอนกุ้ง
ผ้าซอนกุ้ง เป็นอุปกรณ์จับกุ้งหรือปลาขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นผ้าตาข่ายคล้ายมุ้งนอน แต่มีรูใหญ่กว่ามุ้งเล็กน้อย ผ้านี้มีลักษณะเป็นสีเหลี่ยม โดยตรงจะเป็นถุงยื่นออกมาเล็กน้อยการซอนกุ้งจะใช้ผ้าซอนตามริมตลิ่งเท่านั้น เพราะลงลึกไม่ได้ ด้วยการใช้ 2 คน จับผ้าขึงที่รัดกับไม้ในแต่ละข้างให้ตึง ก่อนจะเดินลากตามขอบตลิ่ง โดยให้ชายผ้าด้านล่างไถไปกับผิวดิน

วิธีนี้ เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด นิยมใช้เก็บกุ้งตามบ่อเลี้ยงปลา บ่อเลี้ยงกุ้ง หรือ บ่อตามธรรมชาติ ซึ่งวิธีนี้มักจะมีปลาขนาดเล็ก หอย หรือลูกกุ้งติดมาด้วย รวมถึงวัสดุที่อยู่ในน้ำ ซึ่งต้องมาคัดแยกกุ้งออกอีกครั้งหนึง



วิธีการทำ
1.เตรียมบ่อลึก 70 เซนติเมตร กว้าง 2 เมตร ยาว 8 เมตร
2.ปูก้นบ่อด้วยพลาสติกสีดำ นำดินมาเทถมให้ทั่วก้นบ่อบนพลาสติกประมาณ 7-8 เซนติเมตร
3.เติมน้ำลงไปให้เต็มบ่อพอดี ทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน
4.นำสาหร่าย ผักตบชะวา หญ้าขน นำมาทิ้งไว้ให้เป็นฟ่อนๆ ประมาณ 4-5 ฟ่อน
5.แล้วปล่อยกุ้งลงไปประมาณ 5 ขีด ช่วงปล่อยกุ้งลงไปไม่ต้องให้อาหารประมาณ 7 วัน เพื่อให้กุ้งปรับสภาพในบ่อ
สำหรับอาหารกุ้ง
1.ต้มไข่ให้สุก เอาเฉพาะไข่แดง 2 ฟอง
2.รำอ่อน 3 ขีด ผสมให้เข้ากัน ปั้นเท่ากำปั้น โยนลงไปในบ่อประมาณ 3 ก้อน
หลังจากให้อาหารประมาณ 1 เดือน กุ้งจะวางไข่ ให้สังเกตตอนกลางคืนโดยการนำไฟฉายมาส่องดุว่ากุ้งจะวางไข่หรือไม่

*เทคนิคการเร่งกุ้งให้วางไข่ ให้นำสายยางน้ำประปามาเปิดลงในบ่อ โดยการเปิดแรงๆ ประมาณ 10-20 นาที
เพราะกุ้งชอบเล่นน้ำไหล แล้วจะดีดตัวทำให้ไข่ตกลงมา (ธรรมชาติน้ำนิ่งกุ้งไม่วางไข่)
ประมาณ 1-2 เดือน กุ้งก็จะโตเต็มที่ ใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 4 เดือน จะได้กุ้งประมาณ 20-30 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 100-200 บาท

สูตรวิธีการช่วยดับกลิ่น ฆ่าเชื้อโรคในบ่อ และให้กุ้งโตเร็ว
1.EM 2 ช้อนแกง
2.กากน้ำตาล 2 ช้อนแกง
3.น้ำ 1 ลิตร
นำส่วนผสมมาหมักรวมกัน ตั้งทิ้งไว้ในที่ร่ม 1 อาทิตย์
อัตราส่วนในการใช้ อีเอ็ม 1 ลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ใส่บัวรดน้ำราดให้ทั่วบ่อ จะใช้หลังจากที่เติมน้ำลงไปก่อนปล่อยกุ้ง
จะช่วยดับกลิ่น ฆ่าเชื้อโรคในบ่อ กุ้งโตเร็ว

ที่มา : อาจารย์ชาตรี ต่วนศรีแก้ว

รู้หรือไม่? เพกา หรือ ลิ้นฟ้า ผักมหัศจรรย์! มีสรรพคุณมากล้น แชร์เลย

เพกา
เพกา ชื่อสามัญ Broken bones tree, Damocles tree, Indian trumpet flower

เพกา ชื่อวิทยาศาสตร์ Oroxylum indicum (L.) Kurz จัดอยู่ในวงศ์แคหางค่าง (BIGNONIACEAE)



สมุนไพรเพกา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ อีก เช่น ลิ้นฟ้า (เลย, ภาคอีสาน), กาโด้โด้ง (กาญจนบุรี), ดุแก ดอก๊ะ ด๊อกก๊ะ (แม่ฮ่องสอน), เบโด (จังหวัดนราธิวาส), มะลิ้นไม้ มะลิดไม้ ลิดไม้ (ภาคเหนือ), โชยเตียจั้ว (จีน) เป็นต้น

ต้นเพกาจัดเป็นไม้ยืนต้นและเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดียแลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และรวมถึงประเทศไทยบ้านเราด้วย โดยพบได้ตามป่าเบญจพรรณและป่าชื้นทั่วไป แม้ว่าต้นเพกาจะมีอยู่ในหลาย ๆ ประเทศ แต่มีเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่นำเพกามารับประทานเป็นผัก (จัดอยู่ในหมวดดอกฝัก)

ฝักอ่อนของเพกา ต่อน้ำหนัก 100 กรัม จะมีวิตามินซีถึง 484 มิลลิกรัม ซึ่งถือว่าสูงมาก ๆ และยังประกอบไปด้วยมีวิตามินเอสูงถึง 8,300 มิลลิกรัม (ซึ่งพอ ๆ กับตำลึงเลยทีเดียว), ธาตุแคลเซียม 13 มิลลิกรัม, ธาตุฟอสฟอรัส 4 มิลลิกรัม, โปรตีน 0.2 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 14 กรัม, ไขมัน 0.5 กรัม, เส้นใย 4 กรัม

ยอดอ่อนของเพกา ต่อน้ำหนัก 100 กรัม จะมีวิตามินบี 1 0.18 มิลลิกรัม, วิตามินบี 2 0.7 มิลลิกรัม, วิตามินบี 3 2.4 มิลลิกรัม, โปรตีน 6.4 กรัม, ไขมัน 2.6 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 13 กรัม และให้พลังงาน 101 กิโลแคลอรี

เพกา มีสรรคุณเป็นยา ตามตำรายาสมุนไพรนั้นเราจะใช้ส่วนต่าง ๆ ของต้นเพกาตั้งแต่ราก เปลือกต้น ฝัก ใบ รวมไปถึงเมล็ด ซึ่งจัดเป็นสมุนไพร “เพกาทั้ง 5” และหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานฝักอ่อนของเพกา เพราะอาจทำให้แท้งบุตรได้ เนื่องจากฝักของเพกามีฤทธิ์ร้อนมาก !

ตามความเชื่อของคนโบราณนั้นห้ามปลูกเพกาไว้ในบริเวณบ้าน เนื่องจากฝักของเพกามีรูปร่างคล้ายดาบหรือปลายหอก อาจทำให้ผู้อยู่อาศัยมีเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจเลือกตกยางออกได้ และเพกายังเป็นชื่อเรียกของเหล็กประดับยอดพระปรางค์ เนื่องจากมีรูปร่างคล้ายฝักของเพกา จึงถือว่าเป็นของสูงไม่คู่ควรแก่การนำมาปลูกไว้ในบ้าน แต่ถ้าจะไปปลูกไว้ตามไร่ตามสวน หรือรั้วบ้านก็คงจะไม่เป็นไร

สรรพคุณของเพกา
เพกาสมุนไพรเพกาช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยชะลอการเสื่อมของเซล์ต่าง ๆในร่างกาย (ฝักอ่อน)
ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัยและช่วยชะลอวัย (ฝักอ่อน)
ช่วยบำรุงและรักษาสายตา (ฝักอ่อน)
ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้ (ฝักอ่อน)
ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ (ราก, ฝักอ่อน, เพกาทั้ง 5 ส่วน)
ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ราก, ใบ)
ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้เปลือกเพกา เปลือกต้นไข่เน่า ใบไข่เน่า แก่นลั่นทม บอระเพ็ด ใบเลี่ยน รากหญ้าคา รวม 7 อย่าง น้ำหนักอย่างละ 2 บาท นำมาต้มกับน้ำดื่มครั้งละ 1 แก้วเล็ก ก่อนอาหาร เช้าและเย็น (เปลือก)
การรับประทานฝักเพกาหรือยอดอ่อนเพกาจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดได้ (ฝัก, ยอดอ่อน)
ช่วยบำรุงโลหิต (เปลือกต้น)
ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต (เปลือกต้น)
ช่วยขับเลือด ดับพิษในโลหิต (เปลือกต้น)
การกินฝักอ่อนของเพกาจะช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่น (ฝักอ่อน)
ใช้แก้ร้อนใน (ฝักแก่)
ช่วยบรรเทาอาการปวดไข้ ด้วยการใช้ใบเพกาต้มน้ำดื่ม (ใบ)
ช่วยแก้ไข้สันนิบาต (ราก)
ช่วยแก้ไข้เพื่อลม เพื่อเลือด (เพกาทั้ง 5 ส่วน)
ช่วยแก้ละอองไข้ หรือโรคเยื่อเมือกในช่องจมูกอักเสบ (เปลือกต้นตำผสมกับสุรา)
ช่วยแก้และบรรเทาอาการไอ ด้วยการใช้เมล็ดแก่เพกาประมาณครึ่งกำมือถึงหนึ่งกำมือ (1.5 – 3 กรัม) ใส่ในหม้อที่เติมน้ำ 300 มิลลิลิตร แล้วต้มไฟอ่อน ๆ จนเดือดประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วนำมาดื่มครั้งละ 1 แก้ว เช้า กลางวัน เย็น จนกว่าอาการจะดีขึ้น (ฝักอ่อน, เมล็ด)
ช่วยขับเสมหะ ด้วยการใช้เมล็ดแก่เพกาประมาณครึ่งกำมือถึงหนึ่งกำมือ (1.5 – 3 กรัม) ใส่ในหม้อที่เติมน้ำ 300 มิลลิลิตร แล้วต้มไฟอ่อน ๆ จนเดือดประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วนำมาดื่มครั้งละ 1 แก้ว เช้า กลางวัน เย็น จนกว่าอาการจะดีขึ้น (ฝักอ่อน, เปลือกต้น, เมล็ด)
ช่วยแก้อาการอาเจียนไม่หยุด ด้วยการใช้เปลือกต้นเพกาตำผสมกับน้ำส้มที่ได้จากรังมดแดงหรือเกลือสินเธาว์ (เปลือกต้นสด)



  • ช่วยเรียกน้ำย่อย (ราก)
  • ช่วยบรรเทาอาการแน่นหน้าอก (เมล็ด)
  • ช่วยบำรุงกระเพาะ ตับ และปอด (เมล็ด)
  • ช่วยแก้อาการปวดท้อง ด้วยการใช้ใบเพกาต้มกับน้ำดื่ม (ใบ)
  • ช่วยแก้อาการจุกเสียกแน่นท้อง (เปลือกต้น)
  • ช่วยแก้โรคบิด (เปลือกต้น, ราก)
  • ช่วยรักษาท้องร่วง (เปลือกต้น, ราก, เพกาทั้ง 5 ส่วน)
  • ช่วยขับลมในลำไส้ (เปลือกต้น, ใบ)
  • ใช้เป็นยาขับถ่าย ช่วยระบายท้อง (เมล็ด)
  • ช่วยในการขับผายลม (ฝักอ่อน)
  • ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้เปลือกต้นเพการวมกับสมุนไพรชนิดอื่น (เปลือกต้น)
  • ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย ทำให้น้ำเหลืองเป็นปกติ (เปลือกต้น, เพกาทั้ง 5 ส่วน)
  • ช่วยลดการอักเสบ อาการแพ้ต่าง ๆ (เปลือกต้น)
  • ใช้เป็นยาฝาดสมาน ช่วยสมานแผล (เปลือกต้น, เพกาทั้ง 5 ส่วน)
  • ช่วยรักษาอาการฟกช้ำ ปวดบวม อักเสบ ด้วยการใช้เปลือกต้นหรือรากเพกากับน้ำปูนใสทาลดบริเวณที่เป็น (เปลือกต้น, ราก, เพกาทั้ง 5 ส่วน)
  • ช่วยรักษาฝี ลดอาการปวดฝี ด้วยการใช้เปลือกต้นนำมาฝนแล้วทาบริเวณรอบ ๆบริเวณที่เป็นฝี (เปลือกต้น)
  • ช่วยแก้อาการคัน ด้วยการใช้เปลือกต้นเพการวมกับสมุนไพรชนิดอื่น (เปลือกต้น)
  • ใช้เป็นยาแก้พิษสุนัขบ้ากัด ด้วยการใช้เปลือกต้นเพกานำมาตำแล้วพอกบริเวณที่ถูกกัด (เปลือกต้น)
  • ช่วยแก้โรคงูสวัด ด้วยการใช้เปลือกต้นเพกา เปลือกคูณ รากต้นหมูหนุน นำมาฝนใส่น้ำทาบริเวณที่เป็น จะช่วยให้หายเร็วขึ้น (เปลือกต้น)
  • เปลือกต้นมีสารสกัดฟลาโวนอยด์ที่มีฤทธิ์ยับยั้งการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบของหนูทดลอง (เปลือกต้น)
  • เปลือกต้นผสมกับสุราใช้กวาดปากเด็ก ช่วยแก้พิษซางได้ (เปลือกต้น)
  • แก้โรคไส้เลื่อน (ลูกอัณฑะลง) ด้วยการใช้เปลือกต้นเพกา รากเขยตาย หญ้าตีนนก นำมาตำรวมกันให้ละเอียด แล้วนำไปละลายกับน้ำข้าวเช็ด ใช้ขนไก่ชุบพาด นำมาทาลูกอัณฑะ ให้ทาขึ้นอย่าทาลง (เปลือกต้น)
  • ช่วยแก้องคสูตร (โรคที่เกิดเฉพาะในบุรุษ มีอาการเจ็บที่องคชาตและลูกอัณฑะ) ด้วยการใช้เปลือกต้นเพการวมกับสมุนไพรชนิดอื่น (เปลือกต้น)
  • ช่วยแก้โรคมานน้ำ หรือภาวะที่มีน้ำขังอยู่ในช่องท้องจำนวนมาก เปลือกต้นผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น (เปลือกต้น)
  • เปลือกต้นตำผสมกับสุราใช้ฉีดพ่นตามตัวหญิงคลอดบุตรที่ทนอาการอยู่ไฟไม่ได้ ทำให้ผิวหนังชา (เปลือกต้น)
  • ช่วยแก้ละอองขึ้นในปาก คอ และลิ้น หรืออาการฝ้าขาวที่ขึ้นในปาก (เปลือกต้นตำผสมกับสุรา)
  • ช่วยขับน้ำคาวปลา (เปลือกต้น)
  • ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น (เปลือกต้น)
  • ฝักอ่อนใช้รับประทานเป็นผัก (ฝักอ่อน)
  • เชื่อว่าการกินเพกาจะไม่ทำให้เจ็บป่วย มีเรี่ยวมีแรงและช่วยบำรุงสมรรถภาพทางเพศอีกด้วย (ฝัก)
  • ผงเปลือกผสมกับขมิ้นชัน ใช้เป็นยาแก้ปวดหลังของม้าได้ (เปลือก)
  • ใช้เมล็ดเพกาผสมกับน้ำจับเลี้ยงดื่ม จะช่วยทำให้มีรสชาติที่กลมกล่อมน่าดื่มมากขึ้น และจะช่วยทำให้ชุ่มคอและรู้สึกสดชื่น (เมล็ด)
  • การใส่เปลือกต้นเพกาลงไปในอาหารจะช่วยแก้เผ็ด แก้เปรี้ยวได้ (ใส่เปลือกต้นผสมกับมะนาว มะนาวก็ไม่เปรี้ยว) (เปลือกต้น)
  • เปลือกของลำต้นนำมาใช้ทำสีย้อมผ้า ซึ่งให้สีเขียวอ่อน (เปลือกต้น)
  • เนื้อไม้ของเพกามีสีขาวละเอียด มีความเหนียว เหมาะสำหรับนำมาใช้ทำงานแกะสลักต่าง ๆ
นิยมรับประทานฝักอ่อนหรือยอดอ่อนของเพกาเป็นผัก ส่วนดอกนิยมนำมาต้มหรือลวกรับประทานร่วมกับน้ำพริก ลาบ ก้อย ยำ หรือจะนำฝักอ่อนไปหั่นตามขวางเป็นชิ้นเล็ก ๆ ทำเป็นแกง ผัด (ฝักมีรสขม ต้องนำไปเผาไฟให้สุกจนผิวนอกไหม้เกรียม และขูดผิวที่ไหม้ไฟออกจะช่วยลดรสขมได้)
นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปของยาสมุนไพรสำเร็จรูป หรือที่เรียกว่าแคปซูลเพกา ก็สะดวกไปอีกแบบสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการความยุ่งยาก

แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, www.rspg.or.th, www.doctor.or.th, www.bloggang.com (วิชิต สุวรรณปรีชา), gotoknow.org (ขจิต ฝอยทอง), มหัศจรรย์สมุนไพรจีน

ภาพประกอบ : www.bansuanporpeang.com (เสิน), เว็บไซต์ bedo.or.th, เว็บไซต์ gotoknow.org

((แชร์เลย)) สังเกตอาการไวรัส “โควิด-19” คู่มือกักตัวในที่พักอาศัย โดยกรมควบคุมโรค

ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้มีการประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 เป็นโรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เพื่อประโยชน์ใน...